วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

1.ความหมายของเทคโนโลยีและคำว่าสื่อสาร
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่มีสาระอยู่ในตัว สามารถสื่อความหมายให้เกิด
การเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้
การที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการนั้นจะต้องนำข้อมูล (data) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ
มาทำการประมวลผลเสียก่อน โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งข้อมูลทั้ง
ภายในหรือภายนอกองค์การ

   คำว่า สารสนเทศ ประกอบด้วยคำสองคำ คือ สาร และสนเทศ สารแปลว่า แก่น เนื้อแท้ที่แข็ง ส่วนสำคัญ หนังสือ จดหมาย บันทึก เป็นต้น สนเทศ แปลว่า คำสั่ง ข่าวสาร ใบบอก เมื่อรวมกันเป็นคำ สารสนเทศ จึงหมายถึง แก่นหรือเนื้อหาที่เป็นข้อมูล ข้อเท็จจริง ข่าวสาร ข้อความหรือตัวเอกสารซึ่งแจ้งให้ทราบถึงเนื้อหาสาระที่บรรจุไว้ สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ความรู้รูปแบบต่างๆ ที่มีการบันทึก ประมวลหรือดำเนินการด้วยวิธีใดๆ และสามารถนำไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ทั้งส่วนบุคคลและสังคม
ข้อมูล ข้อเท็จจริง ลักษณะนั้นๆ ข้อมูลดิบ ข้อมูลเบื้องต้น แก่นเนื้อหา ที่ถูกบันทึกไว้
ข่าวสาร ข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ได้รับการเผยแพร่ ให้รู้กันโดยทั่ว ผ่านรูปแบบวิธีการต่างๆให้ปรากฏ
ความรู้- เป็นการรับรู้ เรียนรู้ข้อสารสนเทศต่างๆ จากการอ่าน การทบทวน การฟัง ประเมิน การคิดวิเคราะห์
1. ทรัพยากรสารสนเทศ ข้อมูลที่ได้บันทึกเป็นหลักฐานและคัดเลือกมาเพื่อบริการ อยู่ในรูปของ หนังสือ ตำรา เอกสาร บทความ รายงาน การวิจัย แถบบันทึกภาพ-เสียง แฟ้มข้อมูล สารานุกรม วารสารอิเล็กทรอนิกส์
2. มวลทรัพยากรสารสนเทศ - ทรัพยากรสารสนเทศประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท รวบรวมไว้ สำหรับให้บริการ
3. เอกสาร - ข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ ตัวอักษร สัญลักษณ์ หรือภาพ/เสียง
4. วัสดุสารสนเทศ Information Material หมายถึง วัสดุชนิดต่างๆที่บันทึกข้อมูลความรู้ ที่ได้เก็บรวบรวมไว้เป็นหลักฐานมีหลากหลายรูปแบบ เช่น หนังสือ วารสาร นิตยสาร ฟิล์ม ภาพยนตร์ เทปวีดิทัศน์ แผ่นดิสก์เก็ต แผ่นซีดี-รอม เป็นต้น
ประเภทของสารสนเทศ
แหล่งปฐมภูมิ สารสนเทศที่ได้จากต้นแหล่งโดยตรง เช่น การสัมภาษณ์ งานวิจัย รายงาน การค้นพบ
แหล่งทุติยภูมิ - สารสนเทศที่รวบรวมเรียบเรียงขึ้นใหม่จากสารสนเทศปฐมภูมิ เพื่อให้ใช้ข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว เข้าใจง่าย เช่น สื่ออ้างอิง วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ สารานุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่างๆ
แหล่งตติยภูมิ - สารสนเทศที่รวบรวมขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ ใช้ค้นหาเฉพาะสาขาต่างๆได้ ได้แก่ บรรณานุกรม ปัจจุบันบันทึกข้อมูลไว้ในสื่อคอมพิวเตอร์ CD-ROM Online database
สื่อที่ใช้ในการจัดเก็บการจำแนกตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อแสง
คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี ต้องมีเนื้อหาถูกต้อง, ตรงตามความต้องการ, มีความครบถ้วนสมบูรณ์, เข้าใจง่าย, มีลักษณะเชื่อถือได้, ทันต่อเหตุการณ์
ระบบสารสนเทศแห่งชาติ สร้างขึ้นโดยความเห็นชอบของรัฐบาล ให้มีหน้าที่จัดบริการสารสนเทศให้ทั่วถึงทั้งประเทศตามความต้องการ ความสามารถในการรับรู้ การนำระบบสารสนเทศหลายหน่วยงานมารวมกัน ในรูปของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการเข้าถึงสารสนเทศและการแบ่งปันทรัพยากรในประเทศ เช่น ห้องสมุด หอจดหมายเหตุ หอสมุดแห่งชาติสถาบันการศึกษา สมาคมวิชาชีพ โรงพิมพ์ สำนักพิมพ์ สำนักข่าวเป็นต้น
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาความรู้ความสนใจของสมาชิก ตลอดจนให้สารสนเทศเกี่ยวกับวิชาชีพนั้นๆ เช่นสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุโทรทัศน์ สถานีวิทยุกระจายเสียง ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูลซีดี-รอม ฐานข้อมูลออนไลน์ หรือข้อมูลรายบุคคล เป็นต้น
ระบบคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ Hardware, Software, People ware, Data, Manual
System Software ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมแปลภาษา โปรแกรมอรรถประโยชน์
Application Software แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มสำหรับใช้งานทั่วไป และซอฟ์ทแวร์ประยุกต์สำหรับงานเฉพาะด้าน
(Microfilm) เป็นเทคโนโลยีการถ่ายภาพ มีขนาดเล็กมากจะต้องอ่านด้วยเครื่องอ่านโดยเฉพาะ แต่ยังคงมีให้บริการอยู่บ้าง เช่น กรมที่ดิน สถาบันการศึกษาเก่าๆ หอจดหมายเหตุ ที่ใช้จัดเก็บโฉนดที่ดิน ลายเส้นพิมพ์เขียวการก่อสร้างอาคาร ประวัตินักศึกษา หนังสือพิมพ์ เป็นต้น เพื่อช่วยในการเก็บรักษาวัสดุต้นแบบ และประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บทำสำเนา
เทคโนโลยีออปติก เป็นเทคโนโลยีดิจิตอล ในรูปของสื่อระบบแสงหรือออปติคอลดิสก์ อาศัยแสงเลเซอร์ในการบันทึกและอ่านข้อมูล นี้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้หลากหลาย ในรูปของมัลติมีเดีย
เทคโนโลยีมัลติมีเดีย ได้แก่ (Text) (Numeric) (Sound) (Graphics/Animation) (Video/Pic.)
การจัดการข้อมูล - กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน ควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวกับข้อมูลของหน่วยงาน เช่น การจัดเก็บ การบันทึก การตรวจสอบ ประมวลผล การใช้งาน การสำรองข้อมูล
ประเภทของข้อมูล เช่น ข้อมูลที่เป็นตัวแทนของโลก, ข้อมูลที่บันทึก ณ จุดกำเนิด, ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง, ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกับพื้นที่จัดเก็บข้อมูล, ข้อมูลประเภทคาดคะเนข้อเท็จจริง,
ห้องสมุดอัตโนมัติ เป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านต่างๆ ภายในห้องสมุด เช่น งานจัดหา การทำรายการทรัพยากรสารสนเทศ งานบริการค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศ งานยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศ ฯลฯ แบ่งความสำคัญออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้, ด้านการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ, ด้านการบริหารจัดการ
ลักษณะการให้บริการของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
                ระบบโอแพค (OPAC) ห้องสมุดอัตโนมัติเป็นเครื่องมือค้นทรัพยากรสารสนเทศและระบบควบคุมการยืม-คืน ดำเนินการได้ 2 ลักษณะคือ การให้บริการภายในห้องสมุด และการให้บริการแบบเข้าถึงจากจากระยะไกลผ่านเครือข่ายแหล่งข้อมูลอื่นๆได้ทั่วโลก
ฐานข้อมูลสำเร็จ -ข้อมูลที่ผลิตขึ้นในรูปแบบที่อ่านได้ด้วยคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายๆแฟ้ม หลายๆระเบียน เพื่อประโยชน์ต่อการใช้งาน ศึกษาค้นคว้า และพัฒนาเป็น CD-ROM database จนถึง Online database ในปัจจุบันเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงได้สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

*******************************************
www.lib.ubu.ac.th/techno/Down%20Load/bod_003.doc


2.การสื่อสารหมายถึง


การสื่อสารหมายถึง
เดนนิส แมคเควล (McQuail, 2005) กล่าวว่า การสื่อสารหมายถึงการให้และการรับความหมาย การถ่ายทอดและการรับสาร ซึ่งรวมถึงแนวคิดของการโต้ตอบ แบ่งปัน และมีปฏิสัมพันธ์กันด้วย
ต่อไป Wilbur Schramm ก็ได้ให้ความหมายของการสื่อสารไว้ว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสาร เกิดขึ้นโดยการถ่ายทอดสารจากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางต่าง ๆ ไปยังผู้รับสารโดยมี วัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ทีนี้มาดูความหมายของการสื่อสารที่คนไทยได้ให้ความหมายกันไว้บ้างค่ะ
สุมน อยู่สิน กล่าวว่า การสื่อสาร คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบดังนี้


1. ผู้ส่งสาร คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อ
ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียวแต่ถ้าเป็นการสื่อสาร 2 ทาง
ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง
ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำให้การ
สื่อสารมีประสิทธิภาพ
2. ข่าวสาร ในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อ
สะดวกในการส่งการรับและตีความ เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อ
ความหมายง่ายขึ้น
3. สื่อหรือช่องทางในการรับสาร คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส
และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเลกทรอนิกส์
4. ผู้รับสาร คือ ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้อง
มีประสิทธิภาพในการรับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง


3.  เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาช่วยในการรวบรวม ประมวลผล สรุป จัดเก็บ และเผยแพร่ สารสนเทศที่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร ภาพ และเสียง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด


      จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) สู่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies : ICT) ระยะแรกนิสิตจะคุ้นเคยกับ คำว่า IT คือการมีข้อมูลสารสนเทศ (Information) และมีเทคโนโลยี (Technology) ซึ่งหมายถึง คอมพิวเตอร์ที่มาแรงมากในช่วงประมาณ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่ระยะหลัง ICT มีบทบาทมาก กล่าวคือ ได้ใช้ระบบเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารที่นอกจากจะรวมเอาอุปกรณ์คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยทำการประมวลผลข้อมูล (Data) ให้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ เป็นสารสนเทศ (Information) ที่มี ความหมายในการบริหารจัดการแล้ว ยังใช้อุปกรณ์ทางการสื่อสาร (Communication) ช่วยเชื่อมโยงไปหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกล (Remote Area) โดยใช้โทรศัพท์ ดาวเทียม ไมโครเวฟ ทำให้การรับส่งและแลกเปลี่ยนเอกสารเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic) จึงสามารถติดต่อข้อมูลข่าวสารได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเอง Information and Communication Technology (ICT) มีความหมายถึง

       Information Technology (IT) และ Communication Technology (CT) (Mallard, 2002)
      1) IT หมายถึง อุปกรณ์ (Hardware) และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) ซึ่งใช้เพื่อการเข้าถึง แก้ไข จัดเก็บ รวบรวม ควบคุม และนำเสนอสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
            (1) Hardware ได้แก่ Personal Computers, Scanners และ Digital Cameras เป็นต้น
            (2) Software ได้แก่ Database Storage Programs และ Multimedia Programs เป็นต้น
      2) CT หมายถึง อุปกรณ์โทรคมนาคม (Tele-communication Equipment) ใช้เพื่อประโยชน์ในการค้นหาและเข้าถึงสารสนเทศ ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น



4.พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
aaaaaก่อนการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ประชากรโลกส่วนใหญ่จะยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นแกนหลัก มีเพียงบางส่วนยึดอาชีพบริการและทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม แต่เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม พลเมืองในชนบทเป็นจำนวนมากละทิ้งถิ่นฐานเดิม จากการทำไร่ไถนามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการขยายตัวของประชากรในภาคอุตสาหกรรมและการลดน้อยลงในภาคเกษตรกรรม ขณะที่ผู้ทำงานด้านบริการจะค่อย ๆ ขยับสูงขึ้นอย่างช้า ๆ พร้อม ๆ กับการมีผู้ทำงานด้านสารสนเทศ ที่ค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นตลอดอย่างต่อเนื่อง
aaaaaเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่งเกิดขึ้น และเริ่มเมื่อไม่นานมานี้เอง เมื่อราว พ.ศ. 2500 เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่แพร่หลายนัก จะมีเพียงการใช้โทรศัพท์เพื่อการติดต่อสื่อสารและเริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลข้อมูล งานด้านสารสนเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นงานภายในสำนักงานที่ยังไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาช่วยงานเท่าใดนัก
aaaaaเมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ช่วยงานสารสนเทศมากขึ้น เช่น เครื่องถ่ายสำเนาเอกสาร เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เครื่องโทรสาร และเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ อาชีพของประชากรก็ปรับเปลี่ยนมาสู่งานด้านสารสนเทศมากขึ้น งานด้านสารสนเทศมีแนวโน้มขยายตัวที่ค่อนข้างสดใส เพราะเทคโนโลยีด้านนี้ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้วยการพัฒนาค้นคว้าวิจัยให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ออกมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา
การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน
aaaaaระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีแบบสื่อประสม (multimedia) ซึ่งรวมข้อความ จำนวน ภาพ สัญลักษณ์ และเสียงเข้ามาผสมกัน เทคโนโลยีนี้กำลังได้รับการพัฒนา ในอนาคตเทคโนโลยีแบบสื่อประสมจะช่วยเสริมและสนับสนุนงานด้านสารสนเทศให้ก้าวหน้าต่อไป เป็นที่คาดหมายว่าอัตราการเติบโตของผู้ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีมากขึ้น จนนำหน้าสายอาชีพอื่นได้ทั้งหมดในไม่ช้านี้
aaaaaการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ด้านข้อมูล และการติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้จึงต้องปรับตัวยอมรับและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะข้อมูลและการติดต่อสื่อสารซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจจำนวนมาก หากการดำเนินงานธุรกิจใช้ข้อมูล ซึ่งมีการบันทึกใส่กระดาษและเก็บรวบรวมใส่แฟ้ม การเรียกค้นและสรุปผลข้อมูลย่อมทำได้ช้า และเกิดความผิดพลาดได้ง่ายกว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่จะช่วยงานให้ง่ายสะดวกและรวดเร็วขึ้น และที่สำคัญช่วยให้สามารถตัดสินใจดำเนินงานได้เร็ว และถูกต้องดีขึ้น

6.ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศคือ มันทำให้การประมวลผลสารสนเทศทำได้รวดเร็วขึ้น ส่งผลถึงการลดระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานสารสนเทศ ช่วยลดต้นทุน ลดเวลาที่ใช้ในการประมวลผลและการสื่อสารทำให้ผู้รับสารสนเทศปลายทางได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ช่วยสนับสนุนข้อมูลหลากหลายด้านเพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ ช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และเพิ่มคุณภาพชีวิตในการทำงาน
เทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์อย่างไร
การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอการการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร
สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่าโทรมาตร เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน
การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น

ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น
ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุคสารสนเทศ ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมาก มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมกล่าวได้ดังนี้
การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอการการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร
สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่าโทรมาตร เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน
การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้า


5.ปัญญาประดิษฐ์ คืออะไร
คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถจำลองความสามารถหลายอย่างของมนุษย์    เช่น  การคำนวณ  การจับ  การพูด การเปรียบเทียบ   นักวิจัยได้พยายามทำการศึกษาเกี่ยวกับความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้  โดยการพัฒนาด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่สามารถเลียนแบบสติปัญญามนุษย์     เช่น  การวิจัยด้านการทำงานเกี่ยวกับระบบที่มีความสามารถในการคิดหาเหตุผล การเรียนรู้  และสะสมความรู้การพัฒนาความสามารถทางด้านเทคนิคและการจำลองประสาทสัมผัสของมนุษย์โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ปัญญาประดิษฐ์  ( A I : Artificial  Intelligence ) หมายถึง  "การทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์" ปัญญาประดิษฐ์   เป็นสาขาหนึ่งของคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการนำคอมพิวเตอร์ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มาใช้ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้คล้ายมนุษย์     สามารถประมวลผลในลักษณะของการคิดหาเหตุผล   การตัดสินใจใน การแก้ปัญหา การที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงานเหล่านี้ได้จะต้องพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความเร็วในการประมวลผลสูงและสามารถทำการประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ปัญญาประดิษฐ์นั้นจะต้องมีความรู้อยู่ด้วย    เมื่อนำความรู้มาประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์และระบบนี้ก็สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้เช่นเดียวกับมนุษย์แต่การที่จะทำให้คอมพิวเตอร์มีความรู้ความสามรถในการประมวลผลความรู้ไม่ใช้ เรื่องง่าย เพราะความรู้เป็นฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากและการแก้ปัญหาของมนุษย์ก็เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างให้หุ่นยนต์ทำงานกับเครื่องจักรไฟฟ้าแทนมนุษย์ได้แต่อย่างไรก็ตามปัญญาประดิษฐ์ก็มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากมนุษย์คือไม่สามรถจำลองลักษณะพิเศษของมนุษย์เช่น ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์ขันและอารมณ์ต่างๆ แต่สามารถจำลองความเคลื่อนไหวของมนุษย์เช่นการหยิบสิ่งของหรือวางตำแหน่งที่กำหนด และจัดเตรียมสมองของระบบโดยสามารถจำลองกระบวนการทำงานด้านความคิดของมนุษย์ภายในขอบเขตความเชี่ยวชาญเฉดพาะอย่างเช่น การสำรวจทรัพยากรธรณี การวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ เป็นต้นดังนั้นปัญญาประดิษฐ์ส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจงหรือนำไปใช้มในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันความสำเร็จของปัญญาประดิษฐ์ขึ้นอยู่กับความรู้ความเชี่ยวชาญของมนุษย    ์และการเลือกรูปแบบของเหตุผล  ปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นในปัจจุบันได้ขยายความสามารถในด้านความรู้ความเชี่ยวชาญออกไปหลายด้านสามารถแก้ปัญหาต่างๆให้แก่ มนุษย์ในระดับที่ยากกว่าความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้วไปแต่อย่างไรก็ตามปัญญาประดิษฐ์ก็ยังมีข้อจำกัดหลาย ๆ  อย่าง จึงไม่สามารถแทนความเชี่ยวชาญของมนุษย์ได้ทั้งหมด เช่น ขาดความคิดวิจารณญาณ พฤติกรรมที่เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์การศึกษาวิจัยในสาขาของปัญญาประดิษฐ์ มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960    ปัญญาประดิษฐ์ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำงานได้หลายๆ   ด้านซึ่งในปัจจุบันประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงขึ้นราคาถูกลง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ได้รุดหน้า ไปมากจนถึงจุดที่โปรแกรมประยุกต์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์กลายเป็นสิ่งที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในโลกปัจจุบัน  จากงานวิจัยทางด้านปัญญาประดิษฐ์ผู้เขียนได้สรุปจาก ก่อเกียรติ เก่งสกุล (2543)"ความฉลาดนั้นได้มาจากความรู้" รูปแบบของความรู้ควรจะมีลักษณะต่างๆ ดังนี
  1. ควรเป็นความรู้ทั่วไปที่ไม่ระบุลักษณะเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งควรครอบคลุมไปถึงความรู้อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน มิฉะนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องมีหน่วยความจำขนาดใหญ่มากเพื่อเก็บความรู้ต่างๆ ไว้ทั้งหมด
  2. ความรู้จะต้องเข้าใจง่าย สามารถเพิ่มเติมความรู้ได้ และสามารถแก้ไขปรับปรุงได้
 3. ความรู้จะต้องอยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาได้
                        ดังนั้น จึงต้องมีการใส่ความรู้ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปของการแทนความรู้ซึ่งมีลักษณะถ่ายเทคุณสมบัติได้ มีตอบสนองได้รวดเร็ว สามารถตัดรายละเอียดออกไปได้เมื่อไม่ได้ใช้งาน และสามารถดึงออกมาใช้ได้เมื่อต้องการใช้
-มี 5 ประเภทได้แก่
1. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
2. การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language processing)
3. ระบบภาพ (Vision System)
4. ระบบเครือข่ายเส้นประสาท (Neural Network)
5. หุ่นยนต์ (Robotics)
7.คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี
     ในการจัดการเพื่อให้องค์การบรรลุถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่องค์การตั้งไว้นั้น  ดังที่กล่าวมาแล้วว่าข้อมูลและสารสนเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อทุกองค์การ ทั้งนี้สารสนเทศที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

     1.  ความเที่ยงตรง (Accuracy) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ โดยไม่ให้มีความคลาดเคลื่อนหรือมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ดังนั้นประสิทธิผลของการตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับความถูกต้องหรือความเที่ยงตรง ย่อมส่งผลกระทบทำให้การตัดสินใจมีความผิดพลาดตามไปด้วย

     2. ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) นอกเหนือจากสารสนเทศขององค์การจะต้องมีความเที่ยงตรงหรือความถูกต้องแล้ว ยังจะต้องมีคุณสมบัติของการที่สามารถนำสารสนเทศมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการตัดสินใจ ทั้งนี้เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางการบริหารทั้งภายในและภายนอกองค์การมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสารสนเทศด้านการขาย การผลิต ตลอดจนด้านการเงิน ถ้าผู้บริหารได้รับมาล่าช้า ก็จะส่งผลกระทบต่อ        ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการตัดสินใจ หรือการดำเนินงานของผู้บริหารที่จะลดลงตามไปด้วย

     3.  ความสมบูรณ์ (Completeness) สารสนเทศขององค์การที่ดี จะต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยทำให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความถูกต้อง การมีสารสนเทศที่มีปริมาณมาก ไม่ได้หมายถึงการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินงาน สารสนเทศที่มีมากเกินไปอาจเป็นสารสนเทศที่ไม่มีความสำคัญ เช่นเดียวกับการมีสารสนเทศที่มีปริมาณน้อยเกินไป ก็อาจทำให้ไม่ได้สารสนเทศที่สำคัญครบเพียงพอทุกด้านที่จะนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะต้องรอให้มีสารสนเทศครบถ้วน 100 เปอร์เซ็นต์ก่อนจึงจะทำการตัดสินใจได้ เช่น จะตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราการใช้สินค้า ปริมาณสินค้าคงเหลือ ราคาต่อหน่วย แหล่งผู้ผลิตค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ระยะเวลารอคอยของสินค้าแต่ละชนิด ดังนั้นจะตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารสินค้าคงเหลือให้มีประสิทธิภาพ ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับสารสนเทศในทุกเรื่อง การขาดไปเพียงบางเรื่องจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจอย่างมากเป็นต้น จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ไม่ได้หมายความว่ามีสารสนเทศมากเฉพาะในบางด้าน ขณะที่สารสนเทศในบางด้านไม่มีหรือมีไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ แต่จะต้องได้รับสารสนเทศที่สำคัญครบในทุกด้านที่ทำการตัดสินใจ

     4.  การสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ ดังนั้นในการที่องค์การจะออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์การนั้น การสอบถามความต้องการของสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก เช่น สนเทศในการบริหารการผลิต การตลาด และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น

     5. ตรวจสอบได้ (Verifiability) สารสนเทศที่ดีควรมีคุณลักษณะที่สามารถจะตรวจสอบได้โดยเฉพาะแหล่งที่มา การจัดรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้การตัดสินใจได้เกิดความรอบครอบ การที่ผู้บริหารมองเห็นสารสนเทศบางเรื่องแล้วพบว่าทำไมจึงมีค่าที่ต่ำเกินไป หรือสูงเกินไป อาจต้องตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศที่ได้มา ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้การติดสินใจเกิดความผิดพลาด

     คุณลักษณะดังกล่าวข้างต้น มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้บริหารงานบุคคลจะต้องพยายามจัดระบบให้มีความพร้อมครบถ้วนและพร้อมที่จะใช้งานได้ ปัญหาสำคัญที่องค์การส่วนมากมักจะต้องเผชิญ คือ การไม่สามารถสนองข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลให้ทันกับความจำเป็นใช้ในการที่จะต้องดำเนินการหรือตัดสินปัญหาบางประการ ดังเช่น ถ้าหากมีเหตุเฉพาะหน้าที่ต้องการบุคคลที่มี       คุณสมบัติอย่างหนึ่งในการบรรจุเข้าตำแหน่งหนึ่งอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น ซึ่งหากผู้จัดเตรียม    ข้อมูลจะต้องใช้เวลาประมวลขึ้นมานานเป็นเดือนก็ย่อมถือได้ว่า ข้อมูลที่สนองให้นั้นช้ากว่าเหตุการณ์ หรือในอีกทางหนึ่ง บางครั้งแม้จะเสนอข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่เป็นข้อมูลที่เป็นรายละเอียดมากเกินไปที่ไม่อาจพิจารณาแยกแยะคุณสมบัติที่สำคัญ หรือข้อมูลที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอย่างเด่นชัด ก็ย่อมทำให้การใช้ข้อมูลนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก

     นอกจากลักษณะที่ดีของสารสนเทศดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีคุณสมบัติที่แอบแฝงของสารสนเทศอีกบางลักษณะที่สัมพันธ์กับระบบสารสนเทศ และวิธีการดำเนินงานของระบบ          สารสนเทศ ซึ่งจะมีความสำคัญแตกต่างกันไปตามลักษณะงานเฉพาะอย่าง ซึ่งได้แก่

     1. ความละเอียดแม่นยำ คือ สารสนเทศจะต้องมีความละเอียดแม่นยำในการวัดข้อมูล ให้ความเชื่อถือได้สูง มีรายละเอียดของข้อมูล และแหล่งที่มาของข้อมูลที่ถูกต้อง

     2. คุณสมบัติเชิงปริมาณ คือความสามารถที่จะแสดงออกมาในรูปของตัวเลขได้ และสามารถเปรียบเทียบในเชิงปริมาณได้
 3. ความยอมรับได้ คือ ระดับความยอมรับได้ของกลุ่มผู้ใช้สารสนเทศอย่างเดียวกัน สารสนเทศควรมีลักษณะเดียวกันในกลุ่มผู้ใช้งาน หรือใกล้เคียงกันโดยสามารถใช้ร่วมกันได้ เช่น การใช้เครื่องมือเพื่อวัดคุณภาพการผลิตสินค้า เครื่องมือดังกล่าวจะต้องเป็นที่ยอมรับได้ว่าสามารถวัดค่าของคุณภาพได้อย่างถูกต้อง
4. การใช้ได้ง่าย คือ ความสามารถนำไปใช้งานได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทั้งในส่วนของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน
 5. ความไม่ลำเอียง ซึ่งหมายถึง ไม่เป็นสารสนเทศที่มีจุดประสงค์ที่จะปกปิดข้อเท็จจริงบางอย่าง ซึ่งทำให้ผู้ใช้เข้าใจผิดไปจากความเป็นจริง หรือแสดงข้อมูลที่ผิดจากความเป็นจริง
  6.  ชัดเจน ซึ่งหมายถึง สารสนเทศจะต้องมีความคลุมเครือน้อยที่สุด สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย
ลักษณะของสารสนเทศที่ดี คือ สารสนเทศต้องถูกต้องเม่นยำ เมื่อพิจารณาสารสนเทศแล้วต้องเข้าใจง่ายมีวิธีการรวบรวมข้อมูลที่น่าเชื่อ ถือ และเป็นวิธีที่ประหยัดเหมาะสมกับราคา นอกจากนี้ต้องตรวจสอบได้ ยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้และที่สำคัญต้องมีความปลอดภัย
8.เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
คนเราทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง ไม่สามารถจะอยู่ได้โดยไม่มีการติดต่อกับโลกภายนอก การรับรู้ข่าวสาร เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุหรือดู โทรทัศน์ ก็เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแบบหนึ่ง การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ก็เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนั้น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ (ตู้ เอ ที เอ็ม) ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
ไม่แต่เฉพาะคนในเมืองเท่านั้น แม้แต่คนในชนบทก็มีส่วนต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันด้วย เช่น
เมื่อไปทำบัตรประชาชนที่อำเภอ ทางอำเภอจะเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูล กลางของสำนักทะเบียน กระทรวงมหาดไทย ซึ่ง
ต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียกใช้งานได้ทันที เช่นนี้เรียกว่า ระบบออนไลน์ (หรือสายตรง) ระบบเช่นนี้มี
ประโยชน์มาก เพราะจำทำให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและตรงกัน และที่เราจะพบได้อีกที่คือระบบเวชระเบียน
การค้นหาประวัติผู้ป่วย ซึ่งจะเก็บข้อมูลไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เมื่อมีการเรียกใช้งานก็จะส่งข้อมูลไปยัง
เครื่องที่เรียกใช้งานเป็นต้น

9.การวิเคราะห์กระแสโลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อสังคมไทย



การวิเคราะห์กระแสโลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อสังคมไทย globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก ; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น" ทุนมนุษย์ (เช่น การอพยพเข้าเมือง การย้ายถิ่น การอพยพจากถิ่นฐาน การเนรเทศ ฯลฯ) ทุนการเงิน (เช่น เงินช่วยเหลือ หุ้น หนี้ สินเชื่อและการกู้ยืม ฯลฯ) ทุนทรัพยากร (เช่น พลังงาน โลหะ สินแร่ ไม้ ฯลฯ) ทุนอำนาจ (เช่น กองกำลังความมั่นคง พันธมิตร กองกำลังติดอาวุธ ฯลฯ) (Globalization) ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศหรือเป็นการค้าภายในประเทศ ทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การครอบงำของ Globalization จึงต้องทำความเข้าใจว่าโลกาภิวัฒน์คืออะไร และบทบาทตัวตนที่แท้จริง ซึ่งฝังอยู่ภายในนั้น จะเป็นอย่างไร ซึ่งจะมีรายละเอียดแบบย่อๆ ดังนี้ ทุน Capital เศรษฐกิจโลกจะต้องเป็นไปตามลัทธิทุนนิยม (Capitalism) ภายใต้การแข่งขันในลักษณะเสรีนิยม (Liberalism) ซึ่งเป็นลักษณะเศรษฐกิจของโลกตะวันตกที่มีเนื้อหาเน้นการสะสมทุนและการค้าเสรี โดยต่างก็จะให้มีการเปิดการค้าระหว่างประเทศให้เป็นการค้าที่ไร้พรมแดนแต่ภายใต้การค้าเสรีนี้ ความได้เปรียบของบริษัทข้ามชาติ ก็จะมีมากกว่าจึงเป็นความเสรีที่ไม่เท่าเทียมกัน ทุนจะมีการเคลื่อนย้ายไปยังประเทศต่างๆของโลกที่ให้เงื่อนไขและผลประโยชน์ที่ได้กำไรสูงสุด การครอบงำผ่านทางข้อมูล-ข่าวสาร (Dominant) การปฏิวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการเชื่อมโยงสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว โลกถูกเชื่อมด้วยข้อมูลข่าวสารและมักเป็นข้อมูลข่าวสารฝ่ายเดียวจากโลกตะวันตก หรือจากประเทศซึ่งมีอำนาจเศรษฐกิจและการทหารที่เหนือกว่า โดยการครอบงำและสร้างกระแสข่าวตามที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเมืองและเศรษฐกิจของตะวันตก เป็นการครอบงำทางข่าวสาร และวัฒนธรรมซึ่งมีผลต่อความเชื่อของมนุษยชาติในการที่จะต้องบริโภคข่าวสาร , การบริโภคสินค้า ,บริการ และวัฒนธรรมของตะวันตกนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ค่านิยม (Value) โลกาภิวัฒน์ ได้สร้างค่านิยมผ่านทางข้อมูลข่าวสาร โดยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ  (Division of Labour) โดยถือหลักการว่าที่ไหนถูกก็ผลิตหรือซื้อที่นั่น โดยต่างฝ่ายจะใช้มาตรการทางภาษีให้มีน้อยที่สุด โดยโลกตะวันตกก็จะมีการปกป้องธุรกิจที่ไม่สามารถแข่งขันกันได้ในรูปแบบของการกีดกันทางการค้า ในแบบที่เรียกว่า NTB (Non Tariff Barrier) การค้าของโลกจะตกอยู่ภายใต้กติกา WTO (World Trade Organization) ที่โลกตะวันตกไม่กี่ประเทศเป็นผู้บงการ และข้อตกลงในลักษณะที่เป็นทวิภาคี ได้แก่ ที่มาในรูปแบบของ FTA ซึ่งหาก WTO ไม่สามารถเอื้อประโยชน์ก็จะมีการทำข้อตกลงความร่วมมือในระดับภูมิภาค เช่น ASEAN , NAFTA , APEC เป็นต้น ต้องเข้าใจว่าการค้าเสรีของ Globalization นั้นเป็นความเสรีบนความไม่เท่าเทียมกัน จึงไม่ใช่ความยุติธรรมทางการค้า Human Right) การบริโภคนิยม (Consumerism) การนิยมวัตถุ (Materialism) รวมถึงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environment) ซึ่งจะอนุรักษ์เฉพาะในสิ่งที่ประเทศด้อยพัฒนาไม่พร้อม แต่โลกตะวันตกพร้อม (Protectinism) การค้าโลกาภิวัฒน์ จะทำมาพร้อมกับการปกป้องทางการค้าในรูปแบบของลิขสิทธิ์ ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของลิขสิทธิ์ก็จะมาจากโลกตะวันตก ซึ่งจะใช้ลิขสิทธิเป็นเครื่องมือในการปกป้องสินค้าและบริการ นอกเหนือจากนี้การใช้มาตรการทางด้านการเงิน ผ่านกองทุนต่างๆ เช่น IMF , ADB Bank ซึ่งมักจะมีเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจข้ามชาติ ก็จัดเป็นส่วนหนึ่งของการปกป้อง รวมทั้งการใช้มาตรการที่ป้องกันผู้ก่อการร้ายของ Terrorism ก็อยู่ในกระแสของโลกาภิวัฒน์เช่นกัน
กระแสโลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อประเทศไทย (Global Trends and Implications to Thailand) (Good Governance and Corporate Governance)ผลกระทบต่อประเทศไทย 9 (2545-2549) รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการดำ เนินนโยบายของรัฐบาลในด้านการศึกษาและสาธารณสุข รวมทั้งรายจ่ายอื่นๆ ทำ ให้ฐานะทางการคลังของไทยประสบปัญหาการขาดดุลงบประมาณในระดับสูง ทำ ให้ยอดหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น อันจะนำ ไปสู่ความไม่มั่นใจในเสถียรภาพด้านการคลังของประเทศ และยากที่จะจัดทำ งบประมาณให้เข้าสู่สมดุล
                กระแสโลกาภิวัตน์นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านต่างยอมรับกันว่า กระแสโลกาภิวัฒน์มีอิทธิพลต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆ ในโลก โดยเฉพาะประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เชื่อมโยงและพึ่งพิงกับต่างประเทศสูง ดังเช่น ประเทศไทย จากการประมวลผลการศึกษาและคาดการณ์ของนักวิชาการหลายท่านได้ข้อสรุปถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่เป็นประเด็นสำคัญ
และเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดังนี้
                1. การเปลี่ยนแปลงลักษณะประชากร (The New Demographics) ประชากรของโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 6.1 พันล้าน ในกลางปี 2001 เป็น 7.8 พันล้านในปี 2025 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 28 หรือร้อยละ 1.2ต่อปี) ทั้งนี้ ร้อยละ 95 ของประชากรที่เพิ่มขึ้นจะอยู่ในประเทศกำ ลังพัฒนา โดยเฉพาะในเขตเมือง แนวโน้มประชากรโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงโครงสร้างและพฤติกรรม โดยประชากรสูงอายุ (มากกว่า 50 ปีขึ้นไป) จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประชากรวัยหนุ่มสาว (Young Generation) จะมีสัดส่วนลดลง โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราการเกิดของประเทศพัฒนาแล้วตํ่าลง ประกอบกับคนจะมีสุขภาพดีและอายุยืนมากขึ้น (ตารางที่ 3) นอกจากนั้น ค่านิยม และพฤติกรรมของประชากรจะเปลี่ยนแปลงไปเร็วมากจนยากที่จะคาดเดา การเปลี่ยนแปลงลักษณะประชากรทั้งหมดดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญ คือ
                                1.1 การสิ้นสุดของตลาดเดียว (The End of Single Market) เดิมตลาดของประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีลักษณะ Homogeneous โดยมีกลุ่มวัยรุ่นเป็นผู้ครอบครองตลาดส่วนใหญ่ แต่ต่อไปในอนาคต ตลาดจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน คือ
                                                (1) ตลาดของผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเพื่ออำ นวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำ วันทดแทนความเสื่อมประสิทธิภาพของร่างกาย การให้บริการเพื่อความบันเทิง เช่น การท่องเที่ยว เป็นต้น
                                                (2) ตลาดของกลุ่มวัยรุ่น ผลิตภัณฑ์และบริการส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ตอบสนองต่อความสะดวกและรวดเร็วในการใช้ชีวิตประจำ วัน ความฟุ่มเฟือยในรูปแบบต่างๆ แม้กระทั่งการศึกษาซึ่งจะมีรูปแบบที่เป็น New Luxury Youth Market โดยเฉพาะในตลาดศึกษาต่อเนื่องของผู้ที่มีพื้นฐานการศึกษาดีอยู่แล้ว ขณะนี้กำ ลังเป็นธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุด เนื่องจาก ครอบครัวที่มีลูกคนเดียวมักจะลงทุนค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของลูกสูงมาก ทำ ให้ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาต่อหัวเท่ากับค่าใช้จ่ายการศึกษาในอดีตของเด็ก 4-5 คนรวมกัน ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น Nanotechnology และ Material Technology เป็นต้น รวมทั้ง ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า “Culture Product” ที่มีความเหมือนกันในวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ การบริโภค และผลิตภัณฑ์ เช่น สินค้าจำ พวก Franchise ต่างๆสัญญาณของปรากฎการณ์ดังกล่าวปรากฎให้เห็นแล้วในธุรกิจบริการด้านการเงิน
(Financial Services) ที่ขณะนี้การค้าหุ้นในตลาดสินค้าประเภท High Technology ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นของคนอายุน้อยกว่า 45 ปี ส่วนการลงทุนในตลาดกองทุนอื่น (Mutual Fund) ที่เน้นในเรื่องของการลงทุนเพื่อการออม ลูกค้าจะเป็นผู้สูงอายุ
                                1.2 ภาระงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกับประเทศกำ ลังพัฒนาซึ่งโครงสร้างของประชากรวัยสูงอายุที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาก จะมีผลต่อค่าใช้จ่ายของรัฐบาลที่จะเพิ่มขึ้นจากเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ เบึ้ยบำ นาญ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาที่แนวโน้มดังกล่าวก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกันแต่ในอัตราที่ตํ่ากว่า
                                1.3 การเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเทศกำ ลังพัฒนาไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว(Mobility of Labour) โดยเฉพาะแรงงานฝีมือหรือแรงงานที่มีความรู้ (Skilled Labor/Knowledge Labor)ซึ่งเป็นที่ต้องการและมีบทบาทมากในระบบเศรษฐกิจ ในทางตรงกันข้าม จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะตํ่าไปยังประเทศกำ ลังพัฒนาเพื่อลดจำ นวนแรงงานในประเทศที่พัฒนาแล้ว เศรษฐกิจโลกจะเป็นตัวซํ้าเติมให้เกิดความยุ่งเหยิงของโครงสร้างการทำ งานในสังคมที่กำ ลังพัฒนา โดยการสร้างให้เกิดการจ้างงานที่ขาดเสถียรภาพ งานที่ต้องการความชำ นาญหลายอย่างอาจถูกลดระดับลง หรือถูกทดแทนด้วยแรงงานที่ตํ่ากว่าระดับจริง นอกจากนั้น จะก่อให้เกิดปัญหาเมืองใหญ่ (Mega City) ที่ต้องมีการวางแผนการพัฒนาเมืองที่ป้องกันและจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ทางโครงสร้างพื้นฐาน และทางด้านสิ่งแวดล้อม
                                1.4 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงในค่านิยม และพฤติกรรมของประชากรทำ ให้ตลาดเปลี่ยนแปลงเร็ว จำ เป็นที่ผู้ผลิตจะต้องมีความพร้อมรับกับการปรับเปลี่ยนโดยต้องพร้อมในการที่จะคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ (Innovation) และใช้ความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมของประสบการณ์และภูมิปัญญา มารองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
                2. ความเหลื่อมลํ้าของความรู้ (Knowledge Divide) จะเกิดทั้งในระดับระหว่างประเทศและในระดับประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นจากความไม่เท่าเทียมกันของความสามารถและความจริงจังในการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษา (Education) ข้อมูลข่าวสาร (Information) และการวิจัย (Research) ของประเทศหนึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ และการพัฒนาองค์ความรู้ของคนในประเทศที่มีความแตกต่างกัน ทำ ให้ประเทศที่มีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องจะเกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในสังคมเศรษฐกิจการเมืองโลกที่อาศัยองค์ความรู้ในการพัฒนามากกว่าปัจจัยทางทรัพยากร (Comparative Advantage) ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ในลักษณะคือ
                                2.1 การศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในระบบและนอกระบบขยายตัวเพิ่มขึ้นมากจากการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Economy) ซึ่งความรู้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกส่วนของภาคการผลิต เพื่อลดต้นทุน เพื่อเพิ่มผลิตภาพ และเพื่อลดการพึ่งพิงแรงงานที่ขาดแคลน จำ เป็นที่ประชากรในทุกเพศ ทุกวัย ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ดังกล่าวโดยเฉพาะประชากรในวัยทำ งานที่ต้องมีความพร้อมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานที่มีความต้องการทักษะและฝีมือ
                                2.2 การวิจัยและพัฒนาจะมีความสำ คัญมากขึ้น ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพที่จะต้องเชื่อมโยงกับการพัฒนาในเชิงธุรกิจ โดยเฉพาะในเรื่องของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ ทันสมัยและกระจายอย่างทั่วถึง
                3. ภาวะกำลังการผลิตส่วนเกิน (Overcapacity) ในสินค้าและบริการ ซึ่งเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ การเข้ามาใหม่ของประเทศกำ ลังพัฒนา เช่น จีน และเม็กซิโก เป็นต้น การหดตัวของความต้องการ (Demand Contract) การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งการเพิ่มขึ้นในความรู้ ความสามารถและทักษะฝีมือแรงงาน ก่อให้เกิดผลกระทบสำ คัญ 2 ประการคือ
                                3.1 ภาวะ “Global Deflation” ราคาสินค้าส่วนใหญ่ทั่วโลกมีราคาถูกลง โดยเฉพาะสินค้าที่สามารถผลิตได้ในประเทศกำ ลังพัฒนาที่มีค่าแรงงานถูก เช่น ประเทศจีน เป็นต้น การแข่งขันจึงอยู่ในลักษณะของการลดต้นทุนการผลิต โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือการเป็นผู้นำ ในการคิดค้นประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
                                3.2 ภาวะ “Growth with Unemployment” อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกจะสูงขึ้น เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในช่วงปี 1960 และ 1970 อันเนื่องจากแรงกดดันทางการเมือง เพื่อให้มีมาตรฐานการครองชีพดีขึ้น การมีนโยบายเศรษฐกิจที่ดีขึ้น การเพิ่มขึ้นในการค้าและการลงทุนกับต่างประเทศ การกระจายตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) และภาคเอกชนมีพลวัตร(Dynamic) มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวกลับก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานมากขึ้น ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งใน 20 ปีข้างหน้า มีการคาดการณ์ไว้ว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในประเทศพัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่า ในขณะที่การจ้างงานในอุตสาหกรรมจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 10-20 ของกำ ลังแรงงานรวม ทั้งนี้ เป็นผลจากการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งการลดบทบาทของภาคอุตสาหกรรมในฐานะผู้สร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศจะนำ ไปสู่การรวมพลังของกลุ่มคนมากขึ้น เพื่อให้รัฐเข้ามาปกป้องทางการค้าในรูปแบบใหม่ (The New Protectionism) เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับสินค้าเกษตร แต่ภาวะการว่างงานดังกล่าวจะบรรเทาได้ในระดับหนึ่งจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมและอาชีพทางด้านบริการที่มีแนวโน้มเพิ่มความสำ คัญขึ้นมากในอนาคต
                4. การพึ่งพิงและร่วมมือระหว่างกันมีมากขึ้น (More Interdependent) ในทุกระดับ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ได้แก่ การขยายตัวขององค์กรทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองระดับโลกขนาดใหญ่ เช่น WTO และ IMF เป็นต้น การปรับเปลี่ยนรูปแบบของขั้วอำนาจจาก Bipolar มาเป็น Multipolar ปัญหาผู้ก่อการร้ายข้ามชาติ (Terrorism) ซึ่งทำ ให้ประเทศต่างๆ ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดมากขึ้น อันนำ ไปสู่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการเจรจาต่อรองและการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในระดับทวิภาคี (Bi-lateral) ในระดับภูมิภาค (Regional) และระดับโลกเพื่อสร้างความสมดุลย์ของอำ นาจทางการเมืองและทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและภูมิภาคทั้งที่มีอยู่เดิมและที่เกิดขึ้นใหม่ในระดับประเทศ ถึงแม้รัฐจะเข้าไปมีบทบาทในเวทีโลกมากขึ้น แต่ภาคธุรกิจและองค์กรที่ไม่แสวงหากำ ไรจะมีบทบาทมากขึ้นทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน จึงต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งภาครัฐและเอกชน โดยแนวโน้มในอนาคตพลเมืองจะยังคงใช้การเมืองนำการดำเนินธุรกิจเนื่องจากการเมืองจะมีการปรับตัวเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการปรับโครงสร้างของรัฐบาลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ให้มีความสามารถในการสร้างความร่วมมือ เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นในการเคลื่อนไหวของข้อมูล เทคโนโลยีสมัยใหม่ การอพยพ และอิทธิพลของภาคธุรกิจและองค์กรที่ไม่แสวงหากำ ไร
                สำหรับในระดับธุรกิจ เนื่องจากข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งสำ คัญต่อการตัดสินใจของภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก องค์กรทางด้านข้อมูลข่าวสารหรือองค์กรที่มีข้อมูลข่าวสารมากจะมีอำนาจมากขึ้น ทำให้เกิดการผลักดันที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจ โดยอาศัยการสร้างความร่วมมือกันระหว่างภาคธุรกิจมากกว่าการมุ่งที่จะแข่งขันกัน อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือจะสำ เร็จได้จำ เป็นต้องอาศัยความโปร่งใสและเปิดเผย ทั้งของภาครัฐและภาคธุรกิจที่จะมีให้กัน
                แนวโน้มสถานการณ์โลกในอนาคตที่คาดการณ์ไว้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งในเชิงบวก ซึ่งถือเป็นโอกาสของประเทศในการที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และเชิงลบซึ่งถือเป็นข้อจำกัดของการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่จะต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนาเพื่อปรับข้อจำ กัดเหล่านั้นให้เป็นโอกาสของประเทศ เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มดังกล่าว ผลกระทบที่จะมีต่อประเทศไทยสรุปได้ดังนี้
                1. โอกาส จากโครงสร้างประชากรที่จะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว จะสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์และขยายตลาดทางด้านสินค้าและบริการที่มีศักยภาพและข้อได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ และแรงงาน รวมทั้งความรู้ความชำ นาญที่มีอยู่เดิม (ทางวัฒนธรรม) เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แรงงานและฝีมือเฉพาะด้านสินค้าและบริการเพื่อสุขภาพ (นวดแผนโบราณ / สมุนไพร) และบริการทางด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าและบริการที่สามารถเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระดับรากหญ้าซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้เป็นอย่างดี
                2. ข้อจำกัดประกอบด้วย
                                2.1 นโยบายการเงินการคลังมีประสิทธิภาพน้อยลง สาเหตุจากภาระงบประมาณรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างประชากร กระทบต่องบประมาณด้านการรักษาพยาบาลเบี้ยบำนาญและเงินสวัสดิการผู้สูงอายุต่างๆ รวมทั้ง กระแสการเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ และบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้งบประมาณทางด้านการศึกษาของภาครัฐเพิ่มขึ้น เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของประชากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นอกจากนี้ ปัญหาหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของประเทศต่างๆ ในโลก การขาดความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของการดำ เนินนโยบาย โดยเฉพาะนโยบายเสรีทางการเงินที่จะเพิ่มความเสี่ยงของราคาทรัพย์สินและก่อให้เกิดปัญหา Credit Bubble ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากขึ้น
                                จากการศึกษาของสำ นักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่สอดรับกับผลการศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่
                                2.2 การขยายตัวของกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล แม้ดัชนีความเป็นเมืองของประเทศไทยจะยังอยู่ในระดับตํ่ากว่าประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และอินโดนีเซีย เป็นต้นแต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังกระจุดอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑลจะส่งผลให้การอพยพเข้ามาของแรงงานเพื่อการมีงานทำ จะมีมากขึ้นเช่นเดียวกับในเมืองหลวงขนาดใหญ่ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะต้องได้รับการปรับปรุงและแก้ไขให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
                                2.3 ปัญหาด้านแรงงาน
                                                (1) ขาดแรงงานที่มีความรู้และทักษะ เนื่องจากการอพยพไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วเพื่อค่าตอบแทนที่สูงกว่า ในขณะที่แรงงานส่วนใหญ่ในประเทศจะเป็นแรงงานขาดความรู้และทักษะ ที่ส่วนหนึ่งอพยพมาจากต่างประเทศ
                                                (2) ภาวะการว่างงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะเกิดขึ้นเช่นเดียวกับประเทศต่างๆ ในโลก อันเนื่องจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบกับความรู้ ความสามารถของแรงงานที่ทำ ให้ผลิตภาพสูงขึ้น
                                2.4 ภาวะการแข่งขันสูงขึ้นและราคาสินค้าตํ่าลง โดยเฉพาะสินค้าที่มีความต้องการในตลาดโลกสูง และสินค้าที่ประเทศใหม่ เช่น จีน และเม็กซิโก เป็นต้น สามารถผลิตได้ อันเนื่องจากข้อได้เปรียบทางด้านแรงงานราคาถูก ความรู้ ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งนวัตกรรม และผลิตภาพที่สูง (High Productivity) ของประเทศเหล่านั้น
                                2.5 เผชิญกับข้อกีดกันทางการค้าทั้งที่อยู่ในรูปของภาษีและที่มิใช่ภาษี (Nontariff Barriers : NTB) มากขึ้น เนื่องจาก การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นไปอย่างช้า ในขณะที่ การเพิ่มขึ้นของการรวมขั้วอำ นาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในระดับต่างๆ รวมทั้ง ปัญหาการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมที่ทำ ให้ประเทศส่วนใหญ่ต้องปกป้องประชากรและอุตสาหกรรมในประเทศเพิ่มขึ้น

ความหมาย นัยสำคัญและผลกระทบโลกาภิวัตน์
                คลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก
                · ยุคเกษตรกรรม สภาพเศรษฐกิจและสังคมเป็นสังคมแบบดั้งเดิม การผลิตด้าน การเกษตร เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ พึ่งพาธรรมชาติ สังคมเรียบง่ายไม่ซับซ้อนเป็นยุคอดีตจนก่อนการ ปฎิวัติอุตสาหกรรม
                · ยุคอุตสาหกรรม มีการนำเครื่องจักรไอน้ำมาพัฒนาไปสุ่เครื่องจักรกล มาใช้ เป็นพลังการผลิตแทนแรงงานคน และสัตว์ ก่อให้พลังการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) สภาพสังคมเปลี่ยนไปสู่ การตลาดและการบริโภคนิยม ก้าวเข้าสู่ความทันสมัย สภาพสังคมซับซ้อน หลากกหลายมากขึ้น เป็นยุคสามทศวรรษก่อนปัจจุบัน มีการนำเครื่องจักรไอน้ำมาพัฒนาไปสุ่เครื่องจักรกล มาใช้ เป็นพลังการผลิตแทนแรงงานคน และสัตว์ ก่อให้พลังการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) สภาพสังคมเปลี่ยนไปสู่ การตลาดและการบริโภคนิยม ก้าวเข้าสู่ความทันสมัย สภาพสังคมซับซ้อน หลากกหลายมากขึ้น เป็นยุคสามทศวรรษก่อนปัจจุบัน
                · ยุคเทคโนโลยีข่าวสารข้อมูล มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์ โทรสารติดต่อทั่วโลก เป็นยุคโลกไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารรวดเร็วเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจนคนในสังคมปรับตัวไม่ทันกกับคลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก (Future Shock) เป็นยุคศตวรรษที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์ โทรสารติดต่อทั่วโลก เป็นยุคโลกไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารรวดเร็วเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจนคนในสังคมปรับตัวไม่ทันกกับคลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก (Future Shock) เป็นยุคศตวรรษที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน
                · ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ด้วยพลังแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
                โลกาภิวัตน์ หรือ โลกานุวัตร (
                โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก
                โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลก
                โลกาภิวัตน์เกิดจากสี่รูปแบบพื้นฐานของการเคลื่อนย้ายทุนในเศรษฐกิจโลก โดยสี่การเคลื่อนย้ายของทุนที่สำคัญคือ:
                โลกาภิวัฒน์
                Globalization จะเกี่ยวข้องกับ
1.            
2.            
3.            
    • ค่านิยมทางการเมือง ทุกประเทศในโลกต้องเป็นแนวประชาธิปไตยแบบตะวันตก ซึ่งประเทศต่างๆ หากจะต้องมีรูปแบบการเมืองการปกครองในแบบเดียวกัน มิฉะนั้นก็จะถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ หรือใช้กำลังทหารเข้าไปปลดปล่อยให้เป็นประชาธิปไตย โดยไม่สนใจต่อความพร้อมหรือวิถีชีวิตของคนในประเทศเหล่านั้น ซึ่งการเมืองในระบบประชาธิปไตย เมื่อถูกผ่านการครอบงำผ่านทางข้อมูลข่าวสารจากโลกตะวันตก ก็จะทำให้ประชาชนมีค่านิยมที่จะเลือกผู้นำที่มีแนวความคิดแบบการค้าเสรีหรือเป็นนายทุนเศรษฐกิจแบบตะวันตกไปเป็นรัฐบาล ซึ่งก็จะมีการแก้ไขกฎเกณฑ์ กฎหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทข้ามชาติสามารถเข้าไปแข่งขันกับธุรกิจท้องถิ่น ซึ่งมีความอ่อนแอกว่า ซึ่งจะมีผลต่อจะต้องมีการพึ่งพาโลกตะวันตก
    • ค่านิยมทางเศรษฐกิจ โลกจะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ มีการแบ่งงานกันทำ
    • ค่านิยมทางสังคม โดยการครอบงำทางสังคมวัฒนธรรม โดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร ทำให้การค้าของโลกจะเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน (
    • ค่านิยมการปกป้องทางการค้า
  
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
      ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้น
      - สิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก
      - เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี
      - เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน
      - สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น
      - เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก มีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ
      - เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก      
      - การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
บทบาทของการสื่อสารและเครือข่ายฯ
การติดต่อสื่อสารข้อมูลในปัจจุบัน มีรากฐานมาจากความพยายามในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยอาศัยระบบสื่อสารที่มีอยู่แล้ว แต่การสื่อสารข้อมูลจะอยู่ในขอบเขตที่จำกัด ต่อมาเมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ความต้องการในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ในเวลาเดียวกัน ที่เรียกว่า ระบบเครือข่าย (Network System) ก็ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นลำดับ
ตอนต้นของยุคสื่อสาร เมื่อประมาณ พ.ศ. 2513-2514 ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันมีมากขึ้น แต่คอมพิวเตอร์ยังมีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับอุปกรณ์สื่อสารที่มีอยู่แล้วบางอย่าง การสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายในระยะนั้น จึงเน้นการใช้คอมพิวเตอร์ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นผู้ให้บริการแก่ผู้ใช้ปลายทางหลายคน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของระบบ
ต่อมาเมื่อถึงยุคของไมโครคอมพิวเตอร์ พบว่าขีดความสามารถในด้านความเร็วของการทำงานของเมนเฟรมมีความเร็วมากกว่า 10 เท่า เมื่อเทียบกับไมโครคอมพิวเตอร์ตัวที่ดีที่สุด แต่ราคาของเมนเฟรมแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์หลายพันเท่า การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์จึงได้แพร่หลายออกไป การสื่อสารจึงกลายเป็นระบบเครือข่ายแบบกระจาย กล่าวคือแทนที่จะออกแบบให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางต่อกับเมนเฟรม ก็เปลี่ยนมาเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้คอมพิวเตอร์กต่อกับคอมพิวเตอร์แทน
ลักษณะของเครือข่ายจึงเริ่มจากจุดเล็ก ๆ อาจจะอยู่บนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์เดียวกัน ขยายตัวใหญ่ขึ้นเป็นระบบทีทำงานร่วมกันในห้องทำงาน ในตึก ระหว่างตึก ระหว่างสถาบัน ระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ การจัดแบ่งรูปแบบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงแยกตามขนาดของเครือข่าย ข้อมูลในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บในคอมพิวเตอร์สามารถส่งต่อ คัดลอก จัดพิมพ์ ทำสำเนาได้ง่าย เมื่อเทียบกับการคัดลอกด้วยมือ ซึ่งต้องใช้เวลามากและเสี่ยงต่อการทำข้อมูลผิดพลาดอีกด้วย วิธีการทางด้านการสื่อสารข้อมูล กำลังได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ในระบบสำนักงานที่เรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (
Office Automation System) ซึ่งเป็นระบบที่บุคคลน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเข้าด้วยกัน ระบบสำนักงานอัตโนมัติ หรือ OAS มีจุด มุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษ จะส่งข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange)
ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะคือ
1. รูปแบบของระบบงานพิมพ์ และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อความ รูปภาพ
E-mail FAX
หรือเสียง เป็นต้น
2. รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (
Audio Conferencing) การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video-Conferencing)
เป็นต้น
สำนักงานที่จัดว่าเป็นสำนักงานอัตโนมัติ ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือ
1.
Networking System
คือ ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร
2.
Electronic Data Interchange
คือ การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าววารแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบข่ายงาน
3.
Internet Working
คือ การรวมตัวกันของระบบข่ายงานที่กระจายอยู่ทั่วโลก จนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
4.
Paperless System
คือ ระบบที่ไม่ใช้กระดาษ
บทบาทที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่ง คือการให้บริการข้อมูล ในหลายประเทศได้จัดให้มีฐานข้อมูลไว้บริการ เช่น ฐานข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ฐานข้อมูลงานวิจัย ฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจ ฐานข้อมูลของสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค ในมหาวิทยาลัยอาจมีข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือและตำราวิชาการ หากผู้ใช้ต้องการข้อมูลใดก็สามารถติดต่อมายังศูนย์บริการข้อมูลนั้น การติดต่อจะผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้การได้ข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว
 ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1. ความเร็ว การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จะช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผล การค้นหาข้อมูลจะทำได้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล
           2. ความถูกต้อง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลนั้น มีความผิดพลาดน้อยกว่าการประมวลผลด้วยมนุษย์
           3. การเก็บบันทึกข้อมูล ข้อมูลที่เก็บบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ จะเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ทำให้มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก และมีความ คงทนถาวรมากกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปของกระดาษ
         4. การเผยแพร่ข้อมูล การรับส่งข้อมูลในปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะทำให้การเผยแพร่ ข้อมูลทำได้อย่างกว้างขวาง สามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน